จากข้อมูลสถิตอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทย พบว่าประเทศไทยของเรา ติดอันดับเป็นอันดับที่ 3 ของโลกที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด ถึงแม้จะมีการรณรงค์ทุกปี แต่ดูเหมือนว่าความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกลับมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม ทำไมล่ะ
ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกัน ว่าทำไม แต่เชื่อมั้ยครับว่า ถ้าทุกคนขับขี่ตามข้อกำหนดที่กฎหมายบังคับ ปฏิบัติตามมาตรการขับขี่ปลอดภัยต่างๆที่มีการกำหนดไว้ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นย่อมที่จะมีแนวโน้มลดลงแน่นอน
ถ้ามองในส่วนของโรงงาน เวลาจะสังเกตว่าพนักงานคนไหนไม่ใส่ใจ หรือไม่สนใจเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ให้ดูที่ "PPE หรือ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เขาสวมใส่"
บนถนนก็เหมือนกัน ถ้าสังเกตเห็นคนที่ขับขี่มอเตอร์ไซด์แล้วไม่สวมใส่หมวกกันน็อค หรือ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับขี่รถยนต์ แน่นอนครับ จัดว่าเป็นคนประเภทเดียวกัน ต้องระวังให้ดี "พวกนี้ชีวิตตัวเองยังไม่สนใจ อย่าได้หวังเลยว่าจะสนใจชีวิตของผู้อื่น" ถ้าเจอพวกนี้บนท้องถนน กรุณาอย่าไปเข้าใกล้นะครับ อยู่ให้ห่างเป็นดี
หลายๆหน่วยงานก็ออกมาแสดงความเป็นห่วง ช่วยกันหาข้อมูล ช่วยกันรณรงค์ สุดท้ายก็พบว่าสาเหตุหลักของอุบัติเหตุมีสาเหตุมาจาก "เมาแล้วขับ และขับเร็ว" ในช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือหยุดยาว
เวลาชนกัน ก็มักจะชนกันที่เลนขวาสุด เพราะเป็นเลนที่ขับรถเร็ว และมากไปกว่านั้นการใช้สมาร์ทโฟนก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุก็คือ "แชะ แชท แชร์"
จากประสบการณ์ของผมเวลาที่ไปพูดเรื่อง Behavior-Based Safety ผมมักจะให้ผู้เข้าเรียนออกมาแชร์ประสบการณ์อุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้นกับตัวเอง ซึ่งแปลกมากหลายคนที่ถูกชนท้าย ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกชนเพราะคันหลังขับรถเร็ว แต่ถูกชนเพราะคันหลัง "มันเล่นไลน์ แชท แชะ แชร์ หรือคุยมือถือขณะขับขี่"
วิธีที่ดีที่สุดในการขับขี่อย่างปลอดภัย คือ อย่าทำตัวเองให้มีปัญหา ปฏิบัติตามกฎ คิดถึงตัวเองให้มาก เราปลอดภัย คนอื่นก็ต้องปลอดภัยด้วย
จำไว้นะครับ ในขณะขับขี่...
ใช้มือถือ เมาแล้วขับ ขับรถเร็ว = เลว
อย่าทำนะครับ...
ภาพ : Pictures Ref.
http://engineerchic.files.wordpress.com/2014/02/woman-accident-car.jpg
http://riskmanagement365.files.wordpress.com/2013/03/5964889_f520.jpg
ใช้มือถือ เมาแล้วขับ ขับรถเร็ว = เลว
อย่าทำนะครับ...
ภาพ : Pictures Ref.
http://engineerchic.files.wordpress.com/2014/02/woman-accident-car.jpg
http://riskmanagement365.files.wordpress.com/2013/03/5964889_f520.jpg
ผู้เขียน : ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย ( ส.อ.ป. Blogger )
สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)
Occupational Health and Safety at work Association (OHSWA)
402/1 อาคาร 2 ชั้น 6 ภาควิชาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนราชวิถี
แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 026444067 โทรสาร 026444068
เวปไซต์ http://www.ohswa.or.th/