วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ขับขี่ปลอดภัยในเทศกาลปีใหม่


จากข้อมูลสถิตอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทย พบว่าประเทศไทยของเรา ติดอันดับเป็นอันดับที่ 3 ของโลกที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด ถึงแม้จะมีการรณรงค์ทุกปี แต่ดูเหมือนว่าความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกลับมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม ทำไมล่ะ

ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกัน ว่าทำไม แต่เชื่อมั้ยครับว่า ถ้าทุกคนขับขี่ตามข้อกำหนดที่กฎหมายบังคับ ปฏิบัติตามมาตรการขับขี่ปลอดภัยต่างๆที่มีการกำหนดไว้ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นย่อมที่จะมีแนวโน้มลดลงแน่นอน

ถ้ามองในส่วนของโรงงาน เวลาจะสังเกตว่าพนักงานคนไหนไม่ใส่ใจ หรือไม่สนใจเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ให้ดูที่ "PPE หรือ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เขาสวมใส่"

บนถนนก็เหมือนกัน ถ้าสังเกตเห็นคนที่ขับขี่มอเตอร์ไซด์แล้วไม่สวมใส่หมวกกันน็อค หรือ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับขี่รถยนต์ แน่นอนครับ จัดว่าเป็นคนประเภทเดียวกัน ต้องระวังให้ดี "พวกนี้ชีวิตตัวเองยังไม่สนใจ อย่าได้หวังเลยว่าจะสนใจชีวิตของผู้อื่น" ถ้าเจอพวกนี้บนท้องถนน กรุณาอย่าไปเข้าใกล้นะครับ อยู่ให้ห่างเป็นดี

หลายๆหน่วยงานก็ออกมาแสดงความเป็นห่วง ช่วยกันหาข้อมูล ช่วยกันรณรงค์ สุดท้ายก็พบว่าสาเหตุหลักของอุบัติเหตุมีสาเหตุมาจาก "เมาแล้วขับ และขับเร็ว" ในช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือหยุดยาว

เวลาชนกัน ก็มักจะชนกันที่เลนขวาสุด เพราะเป็นเลนที่ขับรถเร็ว และมากไปกว่านั้นการใช้สมาร์ทโฟนก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุก็คือ  "แชะ แชท แชร์"



จากประสบการณ์ของผมเวลาที่ไปพูดเรื่อง Behavior-Based Safety ผมมักจะให้ผู้เข้าเรียนออกมาแชร์ประสบการณ์อุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้นกับตัวเอง ซึ่งแปลกมากหลายคนที่ถูกชนท้าย ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกชนเพราะคันหลังขับรถเร็ว แต่ถูกชนเพราะคันหลัง "มันเล่นไลน์ แชท แชะ แชร์ หรือคุยมือถือขณะขับขี่"

วิธีที่ดีที่สุดในการขับขี่อย่างปลอดภัย คือ อย่าทำตัวเองให้มีปัญหา ปฏิบัติตามกฎ คิดถึงตัวเองให้มาก เราปลอดภัย คนอื่นก็ต้องปลอดภัยด้วย

จำไว้นะครับ ในขณะขับขี่...

ใช้มือถือ เมาแล้วขับ ขับรถเร็ว = เลว

อย่าทำนะครับ...


ภาพ :  Pictures Ref.
http://engineerchic.files.wordpress.com/2014/02/woman-accident-car.jpg
http://riskmanagement365.files.wordpress.com/2013/03/5964889_f520.jpg


ผู้เขียน : ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย (  ส.อ.ป. Blogger ) 

สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)
Occupational Health and Safety at work Association (OHSWA)

402/1 อาคาร 2 ชั้น 6 ภาควิชาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย 
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนราชวิถี 
แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 
โทรศัพท์ 026444067 โทรสาร 026444068

เวปไซต์ http://www.ohswa.or.th/
เฟสบุ๊ค  http://www.facebook.com/ohswathailand

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เรื่องที่เจ้าของบริษัท ไม่อยากให้ใครรู้


ภาพจาก: http://www.daphneal.com/

ปัจจุบันนี้ เรื่องการค้นหาเส้นทาง หรือแผนที่ในการเดินทางไม่น่าจะมีปัญหามากมาย หรือวุ่นวายนักเมื่อเทียบกับสมัยก่อน เพราะปัจจุบันเราสามารถค้นหาเส้นทางในการเดินทางได้ง่ายดาย และสบายมาก จากเวปไซด์ Google  

ผมเชื่อว่าหลายคนที่เขาสู่วัยทำงานแล้ว ก็จำเป็นต้องหาข้อมูลของบริษัทต่างๆจากอินเตอร์เนต เพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางในการสัมภาษณ์งาน หรือติดต่องานใดๆ แน่นอนข้อมูลที่ได้ย่อมมีทั้งที่ดี และไม่ดี

จากประสบการณ์ของผม ที่ได้มีโอกาสเดินทางไปหลายๆบริษัททั่วประเทศ ผมจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลของบริษัทต่างๆก่อนออกเดินทาง ถ้าบริษัทที่นั้นดีหน่อย ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร ข้อมูลที่เจอบนอินเตอร์เนต ก็จะแสดงรายละเอียดที่เราต้องการค้นหา ออกมาได้อย่างชัดเจนเลย แต่เชื่อมั้ยครับว่า มีหลายครั้งที่ผมทำการค้นหาข้อมูลในการเดินทาง ผมกลับเจอเรื่องอื่นๆก่อน ที่ผมไม่ได้อยากรู้ แต่มันกับโผล่ขึ้นมาก่อนขึ้นมาก่อน อยากจะทราบมั้ยครับว่าผมเจอเรื่องอะไร

เรื่องที่ผมเจอมันคือเรื่องที่เจ้าของบริษัท และพนักงานภายในไม่ค่อยอยากจะให้ใครรู้ เพราะมันนำมาซึ่งความสูญเสีย ชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือของบริษัท มันคือเรื่องของ "อุบัติเหตุ"

ล่าสุดผมได้ทำการค้นหาข้อมูล เพื่อเดินทางไปยังบริษัทแห่งหนึ่ง ปรากฎว่าบรรทัดแรกของ Google แสดงประวัติของบริษัทนี้ว่า "เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่บริษัท... " บ้างก็  "เกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลของบริษัท..." หรือ " มีคนตายในบริษัท... "

นี่แหล่ะครับ ผลกระทบที่เราคาดไม่ถึง ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ทำให้คนที่เขาจะเดินทางมาสมัครงาน มาสัมภาษณ์งาน หรือ จะมาเจรจาตกลงธุรกิจ เกิดความไม่ไว้วางใจ      ( Trust buster) และสุดท้ายเขาก็ไม่อยากจะมาสมัครงาน หรือไม่อยากจะมาร่วมลงทุนธุรกิจกับเราเลย...

สาเหตุที่ข่าวไม่ดีติดอันดับต้นๆก็เพราะว่า คนไทยเราชอบเสพข่าวร้าย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเข้าทางของนักข่าว นักหนังสือพิมพ์ ในการช่วยกันประโคมเข้าไป สุดท้ายจำนวนคลิกเข้าไปดูเยอะมาก บวกกับเวปไซด์ของหนังสือพิมพ์นั้นๆดังอยู่แล้ว จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่เรื่องไม่ดีมันขึ้นมาก่อน....

ในการทำธุรกิจการลงทุนเป็นสิ่งที่ดี เพื่อเป็นการขยับขยายกิจการของบริษัท แต่ถ้าเราลงทุนแต่เรื่องของผลผลิตหรือเรื่องอื่นๆมากเกินไป จริงแท้ และแน่นอนที่สุด อุบัติเหตุร้ายแรง ย่อมเกิดขึ้น และเรื่องไม่ดีของบริษัทเราก็จะติดหน้าหนึ่งของเวปไซด์  Google  แน่นอนและตลอดไป


ในเรื่องของการลงทุนเขาว่ากันว่า High Risk = > High Return
แต่ในเรื่องความปลอดภัย High Risk => Hight Loss

จำไว้นะ


ผู้เขียน : ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย (  ส.อ.ป. Blogger ) 

สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)
Occupational Health and Safety at work Association (OHSWA)

402/1 อาคาร 2 ชั้น 6 ภาควิชาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย 
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนราชวิถี 
แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 
โทรศัพท์ 026444067 โทรสาร 026444068

เวปไซต์ http://www.ohswa.or.th/

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

ความปลอดภัยของผู้รับเหมา (Contractor Safety)


Source : http://sppsconstruction.com

ปัญหาโลกแตก ที่ต้องเจอกันเป็นประจำทุกวันก็คือ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้รับเหมา เช่น แขนขาด ขาขาด ตกจากที่สูง อยู่ในที่อับอากาศขาดอากาศหายใจ อัคคีภัย และไม่ใส่ PPE

สาเหตุของปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากการที่เราไม่ได้นำผู้รับเหมาเข้าสู่ระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานที่บริษัทได้กำหนดไว้ หรือบางแห่งแย่กว่านั้นคือไม่มีเลย หรือมีแต่ไม่นำมาใช้อย่างจริงๆจังๆ 

สำหรับบทความนี้ จะอธิบายในรูปแบบสั้นๆง่ายโดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนในการจัดการความปลอดภัยในการทำงานให้กับผู้รับเหมา


Source :www.123rf.com

Step 1
ค้นหาก่อนว่าผู้รับเหมาที่จะเข้ามาทำงาน จะเข้ามาทำกิจกรรมอะไรบ้าง ที่อาจจะได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วย พิการ สาหัส อันเนื่องมาจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย และสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงโรคติดต่อต่างๆด้วย 

Step 2
ลองดูสิว่า ประวัติการทำงานย้อนหลัง  สถิติการได้รับบาดเจ็บและอุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้นของบริษัทของผู้รับเหมา เป็นอย่างไร มีแนวโน้มของการได้รับบาดเจ็บเป็นอย่างไรบ้าง มีโอกาสที่จะบาดเจ็บเล็กน้อย สาหัส หรือจะมาตายในบริษัทของเราเป็นไปได้มั้ย

Step 3
ลองมองตัวเองสิว่าตอนนี้ ระบบความปลอดภัยอะไรบ้างที่เรามี และที่เขาจำต้องปฏิบัติตาม เช่น การประเมินความเสี่ยง การประเมินอันตราย การทำงานบนที่สูง การใช้นั่งร้านอย่างปลอดภัย การทำเซฟตี้ทอล์ค (safety talk) การใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน เราใช้แบบนี้ปฏิบัติแบบนี้ เขาก็จำเป็นต้องใช้ต้องปฏิบัติเหมือนเราทั้งหมดหรือไม่

Step 4 
ต้องแน่ใจว่า ผู้รับเหมาทุกคนได้เข้าสู่ระบบการอบรมที่ถูกต้อง (Safety Training program) และครอบคลุมในงานที่เขาทำ เช่น ความปลอดภัยการทำงานบนที่สูง การทำงานในที่อับอากาศ การทำงานในพื้นที่ก่อสร้าง และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Step 5 
มอบหมายหน้าที่ให้แก่ผู้รับผิดชอบ สำรวจ ประมิน และแก้ไขให้ถูกต้องทันที เมื่อพบการกระทำหรือ สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย อย่าอยู่เฉยๆ เพราะการนิ่งเฉย คือ การยอมรับ และ ครั้งหน้าถ้าเขายังไม่เจ็บ ยังไม่ตาย เราก็จะเจอเขาทำงาน ด้วยความที่ไม่ปลอดภัยเหมือนเดิม  


 วารสาร ส.อ.ป.
 

Tip
ยิ่งเราเอาใจใส่เขามากเท่าไร ความสัมพันธ์ที่ดีก็จะยิ่งเกิดมากขึ้น เมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดีเกิดขึ้น ความเป็นผู้นำของเราก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ตอนนี้ล่ะนำอย่างไร เขาก็จะให้ความร่วมมือ


Warning
อย่าได้สมมติ หรือเออ ออ หรือ มโนไปว่า ผู้รับเหมาเข้าใจเรื่องของความปลอดภัยทุกเรื่อง จงทำการอบรมและพูดถึงเรื่องความปลอดภัยบ่อยๆ ตามเซฟตี้โปรแกรมที่เรามี 

จนมั่นใจว่าเขาเข้าใจและเห็นความสำคัญของความปลอดภัยที่ต้องทำ ไม่ได้เข้าใจว่าต้องทำเพราะกฎหมายสั่งให้ทำ

Ref : ภาพประกอบ http://www.cthammer.com


ติดต่อ

สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)
Occupational Health and Safety at work Association (OHSWA)

402/1 อาคาร 2 ชั้น 6 ภาควิชาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย 
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนราชวิถี 
แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 
โทรศัพท์ 026444067 โทรสาร 026444068

เวปไซต์ http://www.ohswa.or.th/
 

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

เกี่ยวกับเรา




สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)

วิสัยทัศน์ของ ส.อ.ป.

มุ่งดำเนินงานการส่งเสริมพัฒนาและปกป้องวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพมี สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานในระดับที่ดีที่สุดที่จะทำได้

พันธกิจ ส.อ.ป.

1.  การพัฒนาวิชาชีพ : หลักวิชาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบอาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ของประเทศได้รับการยอมรับนับถือทั้งในและนอกประเทศในฐานะที่เป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

2.  การพัฒนาองค์ความรู้ : สมาคมมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กับทั้งสร้างโอกาสการเข้าถึงและการนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า

3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพ : สมาคมเป็นองค์กรสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพ โดยการดำเนินงานสนับสนุนการออกกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนการสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยอย่างถูกหลักวิชาการ และได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ นำไปสู่การทำให้ผู้ประกอบอาชีพมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

4.  การประสานงานและสร้างแนวร่วม : สมาคมเป็นแกนกลางในการประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมทั้งผู้ประกอบอาชีพทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ในการพัฒนาองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ ตลอดจนการผนึกกำลังเพื่อดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้บรรลุเป้าวัตถุประสงค์ร่วม คือ คุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพ

สมาคมมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อส่งเสริมวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแก่สมาชิก และสังคมโดยรวม 
2. เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพ ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน 
3. เพื่อสนับสนุนและประสานงานกับสถานประกอบการและชุมชนอุตสาหกรรม ในการพัฒนาความปลอดภัย สุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพสัมมาชีพ 
4. เพื่อประสานงานร่วมมือทางวิชาการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หรือสมาคมทั้งภายในและต่างประเทศ 
5. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการกระชับความสัมพันธ์ภายในกลุ่มสมาชิก 
6. เพื่อจัดหาแหล่งประโยชน์สนับสนุนทางวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานให้แก่สมาชิก 
7.ไม่ดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการเมือง

ติดต่อ

สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.)

Occupational Health and Safety at work Association (OHSWA)

402/1 อาคาร 2 ชั้น 6 ภาควิชาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย 
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนราชวิถี 
แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 
โทรศัพท์ 026444067 โทรสาร 026444068

เวปไซต์ http://www.ohswa.or.th/